วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

อาหารพื้นบ้านเมืองจันท์



หมูชะมวง

มีลักษณะคล้ายหมูพะโล้ แต่มีรสขาติทั้งหวาน เผ็ดและเปรี้ยวทานพร้อมกับข้าวสวยร้อนๆ จะช่วยเพิ่มความอร่อยยิ่งขึ้น

 ก๋วยเตี๋ยวเส้นปู

     มีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวผัดไทย แต่ใช้เส้นก๋วยเตี๋ยวจันท์ผัดด้วยเครื่องแกง ใส่ปูทะเลทอดกรอบ  มีรสเข้มข้น ทั้งเปรี้ยว เผ็ดและหวาน รับประทานกับ ถั่วงอก หัวปลี หรือแตงกวาซอย

 ก๋วยเตี๋ยวหมูเลียงและเนื้อเลียง

     มีรสชาติของน้ำก๋วยเตี๋ยวต่างจากก๋วยเตี๋ยวอื่นๆ คือมีรสหวาน เผ็ด และเปรี้ยว เพราะต้มด้วยเครื่องเทศหลายชนิด ทำให้มีกลิ่นหอมของดอกเร่ว เวลารับประทานจะปรุงด้วยน้ำตาลอ้อยและน้ำส้มพริกขี้หนูสด

 น้ำพริกปูไข่

      เป็นอาหารรสจัด มีกลิ่นและรสหวานหอมของปูทะเทต้มสุก ปรุงด้วยกระเทียมและพริกขี้หนู รับประทานกับแตงกวาและขมิ้นขาว

 ไก่ต้มกระวาน

     เป็นแกงจืดชนิดหนึ่ง แต่มีรสชาติเหมือนต้มข่าไก่  และมีกลิ่นหอมของต้นกระวาน

ปลากระบอกต้มส้มระกำ

     มีรสชาติคล้ายกับต้มส้มทั่วไป เพียงแต่ใส่ระกำเปรี้ยวแทนมะนาว  เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของเมืองจันท์

ทองม้วนนิ่ม

     เป็นขนมที่ขึ้นชื่อของอำเภอท่าใหม่  ทำจากแป้ง  มี 2 รสคือรสหวาน  และรสเค็ม 

ขนมนิ่มนวล

    เป็นขนมที่ทำจากแป้ง  ห่อไส้มะพร้าว มีรสหวาน

พลอยเมืองจันท์


เป็นเรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่าจุดที่เกิดพลอยจันท์แห่งแรก ๆ นั้นอยู่บริเวณเขาพลอยแหวน ซึ่งเป็นชื่อเรียกกันมานานแต่ครั้งโบราณ สมัยก่อนการหาพลอยไม่ได้ใช้เครื่องมือหนัก ไม่ต้องเปลืองน้ำมัน เพราะบริเวณเขาพลอยแหวนนั้นพลอยดกมากแค่เขี่ย ๆ ตามพื้นดินก็พบพลอยแล้ว พลอยที่พบจะเป็นพลอยเขียวส่อง บุษราคัม พลอยสตาร์ และไพลิน

          ชาวบ้านจะสนุกสนานในการหาพลอยก็ต่อเมื่อหลังฝนตกหนักเพราะหลังฝนใหญ่ หน้าดินจะถูกน้ำชะไป พลอยและก้อนกรวดจะปรากฏที่หน้าดิน ชาวบ้านซึ่งชำนาญจะแยกออกว่าเม็ดไหนกรวด เม็ดไหนพลอย แต่มีใครกี่คนที่ทราบว่า มีการพบพลอยจันท์มานานเท่าไหร่แล้ว ถ้าถามชาวบ้านในพื้นที่ คนเก่าแก่ก็อาจตอบว่า ตอนพ่อแม่เป็นเด็กก็เห็นมีพลอยแล้ว ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามีมานานเท่าไหร่จริง ๆ

          ในสยามจดหมายเหตุได้กล่าวถึงตอนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จประพาสจันทบุรีไว้ว่า "ได้มีราษฎรนำผลไม้และพลอยหลากสีมาถวาย" ซึ่งครั้งนั้นตรงกับปีพุทธศักราช 2419 แต่ก่อนหน้านั้นไม่พบหลักฐานบันทึกไว้

           เขาพลอยแหวน บางกะจะ บ่อไร่ หนองบอน นาวง ตกพรม บ่อเวฬุ อีเล็ม ฯลฯ เหล่านี้คือ แหล่งที่มีการค้นพบพลอยคุณภาพแห่งภาคตะวันออกของไทย จนทำให้จันทบุรีกลายเป็นที่นัดพบของพ่อค้าพลอยชาวไทยเรื่อยมา หลังจากยุคตื่นพลอยที่บ่อไร่ หนองบอน นาวง และชื่อทับทิมสยาม เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติโดยทั่วไป จึงเริ่มมีนักธุรกิจจากทั่วโลกเข้ามาติดต่อซื้อขายพลอยที่จันทบุรีมากขึ้นโดยลำดับ วันนี้ของชาวจันทบุรีมีทรัพยากรธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปมากตามเวลาที่ล่วงเลย ใต้ดิน...วัตถุดิบร่อยหรอ บนดิน...ความรู้ และประสบการณ์เพิ่มพูน ยากที่ใครจะตามทัน จันทบุรีได้อาศัยประสบการณ์ที่สั่งสม แสวงหาวัตถุดิบจากทุกมุมโลก พลอยก้อน จากทุกแหล่งของโลก ถ่ายเทมาที่นี่ พม่า เขมร เวียดนาม ศรีลังกา ออสเตรเลีย ลาว จีน มาดากัสการ์ แทนซาเนีย ไนจีเรีย อาฟริกา และอีกหลาย ๆ ประเทศ ทุกวันนี้เราจะเห็นชาวต่างชาติ ทุกสีผิว เข้ามาทำธุรกิจพลอยในเมืองจันทบุรีกันคึกคัก  

          ที่นี่...จันทบุรี... เป็นทั้งแหล่งของการขุดพบ แหล่งกำเนิดพลอยสีของไทย แหล่งซื้อขายพลอยก้อนและพลอยเจียระไน 

               >เป็นแหล่งที่ตั้งโรงงานเจียระไนชั้นยอด

               >เป็นแหล่งสร้างฝีมือการเจียระไนชั้นเยี่ยม

               >เป็นแหล่งกำเนิดโรงงานเผาพลอยเลื่องชื่อของโลก
ที่นี่...จันทบุรี... เป็นต้นน้ำที่สำคัญของธุรกิจส่งออกของอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งนำเงินตราเข้าประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท

          คนจันท์....เวลานี้ไปอยู่ทุกแห่งทั่วโลก  เพื่อไปเสาะแสวงหาพลอยซึ่งเป็นหินมีค่า ไม่ว่าจะเป็นทับทิม  บุษราคัม และพลอยหลากสี

          พลอยที่มีค่าเหล่านี้กลายเป็น...ตัวแทนของความรัก

       เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี...ซึ่งขายไปทุกแห่งทั่วโลก

ของดีเมืองจันท์ สินค้า Otop


น้ำสำรอง เจ.เฮ้าส์
ทุเรียนกวน แม่ละม่อม

เสื่อลายมัดหมี่บุนวมแบบผับ

น้ำลูกยอ กระชายดำ
ผลไม้แห้งแบบเหือดแห้ง

 ชมพู่สามรส


 ทุเรียนทอด


ทุเรียนทอดกรอบ

ทุเรียนทอดกรอบ

ทุเรียนทอด

ทุเรียนกรอบสูญญากาศ


ระกำแก้ว
ผลิตภัณฑ์จากทุเรียน

 ทุเรียนหมอนทองทอดกรอบ

เสื่อกกจันทบูร

เสื่อแปรรูป

สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำเภอเมืองจันทบุรี



 


ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : ต.จันทนิมิต อ.เมืองจันทบุรี

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่หน้าค่ายตากสิน เช่นกัน เป็นอาคารรูปทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลา หรือรูปหมวกยอดแหลม ภายในประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ จะจัดให้มีการทำบุญตักบาตรและถวายเครื่องสักการะเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงกอบกู้เอกราชให้แผ่นดินไทย





วัดไผ่ล้อม(พระอารามหลวง) : ต.จันทนิมิต อ.เมืองจันทบุรี

วัดไผ่ล้อม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2320 ภายในวัดมีพระอุโบสถ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด จนถึงสมัยรัชการที่ 3 ได้ทำการบูรณะสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ โดยเป็นแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัชการที่ 3 สิ่งที่ควรสักการะเสริมสิริมงคลที่วัดไผ่ล้อมนี้ก็คือ “พระพุทธไสยาสน์ ปูชนียวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก” ยาว 9 วา 9 นิ้ว สร้างขึ้นโดยความดำริของ “ท่านพระเทพสิทธิมุนี” เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมในปัจจุบัน มีพุทธลักษณะเป็นประติมากรรมผสมค่อนไปทางศิลปะสุโขไทยพร้อมวิหารครอบลักษณะ 2 ชั้น ทรงไทยประยุกต์ นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่า เช่น “เจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์” มีกำแพงแก้วล้อมทั้ง 4 ด้าน สูง 10 เมตร และมี “โบสถ์ ลักษณะเป็นอาคารเลียนแบบศิลปะตะวันตก” ทรงตึกห้องเดียวหลังคาแบบเรื่อนมนิลาสวยงาน วัดไผ่ล้อมนี้ถือได้ว่าเป็นวันที่มีสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงามมากแห่งหนึ่งใน จ.จันทบุรี ซึ่งท่านไม่ควรพลาดที่จะมาทำบุญไหวัพระที่นี่



  

วัดจันทนาราม : ต.จันทนิมิต อ.เมืองจันทบุรี

วัดจันทนาราม เป็นวัดเก่าแก่โบราณตั้งอยู่บนชายฝั่งด้านซ้ายของแม่น้ำจันทบุรี สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2360 แต่บางกระแสเล่าว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีวัดนี้เกิดขึ้นแล้ว วัดจันทนารามเป็นสถานที่จัดงานทอดผ้าป่าหินและประเพณีลอยกระทง ปูชนียวัตถุและโบราณ วัตถุที่สำคัญ เช่น พระพุทธรูปหินอ่อน สร้างเมื่อ 1 ค่ำ เดือน 9 ปีขาล พ.ศ.2445 ที่เมืองตะโค้ง หรือชะเวดากอง ประเทศพม่า นอกจากนี้ยังมี “แผ่นศิลาเก่าแก่” จำนวน 4 แผ่น “พระประธานประจำอุโบสถเก่าแก่” สร้างเมื่อปี พ.ศ.2384 และ “กุฏิไม้รูปทรงศิลาอ่อน”แบบพม่า 1 องค์




 


โบสถ์วัดคาทอลิก (อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธิ) : ต.จันทินิมิต อ.เมืองจันทบุรี

โบสถ์วัดคาทอลิก หลังนี้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวญวนผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ตัวโบสถ์หลังนี้เป็นหลังที่ 5 สร้างโดย “คุณพ่อเปรโตร ปรีกาล” เมื่อ พ.ศ. 2443 ศิลปะแบบโกธิค ตัวโบสถ์ยาว 60 เมตร กว้าง 20 เมตร ตกแต่งด้วยวิธีการประดับ “กระจกสีแบบสเตนกลาส” เป็นภาพนักบุญที่สวยงามและมีคุณค่าทางศิลปะยิ่งนัก ในปัจจุบันโบสถ์วัดคาทอลิคหลังนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นโบสถ์วัดคาทอลิกที่เก่าแก่ทรงคุณค่าและมีความงดงามที่สุดในประเทศไทย  







วัดกลาง : ต.วัดใหม่ อ.เมืองจันทบุรี

วัดกลาง เป็นวัดที่มีความเก่าแก่โบราณอีกวัดหนึ่งที่แทรกตัวอยู่ในชุมชนได้อย่างกลมกลืนสวยงามและมีเสนาสนะต่างๆ ที่งดงามเป็นพิเศษ จึงไม่ควรพลาดที่จะมาไหว้พระเสริมสิริมงคล วัดกลาง สร้างเมื่อปี พ.ศ.2200 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2444 โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ คือ หลวงพ่อปู่ชัยพฤกษ์ เป็นพระประทานประจำพระอุโบสถ และอยู่คู่วัดมาช้านาน นอกจากนี้ยังมี เทวลัยสถาน เป็นที่ตั้งของรูปเหมือนพลเรือเอกพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์





วัดเขตร์นาบุญญาราม : ต.วัดใหม่ อ.เมืองจันทบุรี

วัดเขตร์นาบุญญาราม เป็นวัดพระสงฆ์อนัมนิกาย สร้างขึ้นในสมัยรัชการที่ 3 พ.ศ.2377 แรกเริ่มเป็นอุโบสถไม้ ต่อมาชำรุดคณะกรรมการ ศิษยานุศิษย์ และชาวจันทบุรีได้ร่วมใจกันสร้างขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชการที่ 7 มาเป็นองค์ปรานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เพื่อให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมืองและเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในการประกอบพิธีถือศีลกินเจ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป ภายในวัดยังมีอาคารโรงเจ “บ้วนเฮงตั๊ว” หรือศาลาบำเพ็ญบุญของสมาชิกผู้ถือศิลกินเจในงานถือศีลกินเจกิ๋วฮ๊วงเซ่งหวย ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน งานบุญนี้ได้จัดมา 100 กว่าปีแล้ว ต่อมาได้ปรับปรุงต่อเติมอาคารที่ประทับองค์ฮุดโจ๊วเดิมให้มีความโดดเด่นเป็นสง่า นับได้ว่าเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์และควรเคารพ เพราะเป็นโรงเจคู่บ้านคู่เมืองจันท์เลยทีเดียว








วัดทองทั่ว : ต.คลองนารายณ์ อ.เมืองจันทบุรี

วัดทองทั่ว เป็นวัดเก่าแก่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าอาจจะสร้างในยุคที่เมืองจันทบุรียังตั้งอยู่ในแถบนี้ โดยผู้เจ้าครองนครองค์ในองค์หนึ่งและสร้างต่อๆ กันมา วัดทองทั่วมีโบสถ์หลังเก่าซึ่งเป็นสถานปัตยกรรมแบบต้นรัตนโกสินทร์ คาดว่าจะเป็นสมัยรับการที่ 4 ภายหลังมีการสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น จึงใช้อุโบสถหลังเก่าเป็นที่เก็บโบราณวัตถุ เช่น ทับหลังหินทรายสีขาวลวดลายต่างๆ ศิลปะแบบขอม ยุคถาลาบริวัตต่อสมไพรกุก (พ.ศ.1150) และโบราณวัตถุที่สำคัญของวัดทองทั่งนั้นมีอยู่หลายอย่าง เช่น ใบเสมา คือ รูปเครื่องหมายปักเขตอุโบสถเป็นรูปเสมาคู่, ซากเจดีย์เก่า หรือซากอาคารเก่า, เจดีย์เก่า สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย , อุโบสถหลังเก่า สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณรัชการที่ 4, เสาประดับกรอบประตูเทวสถาน ศิลปะแบบนครวัด, โกลนพระเนตร แต่แกะไม่สำเสร็จ ศิลปะแบบทวาราวดีที่ผสมกับศิลปะแบบขอม เป็นต้น


วัดพลับ : บางกะจะ อ.เมืองจันทบุรี

วัดพลับ เป็นวัดเก่าแก่โบราณที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ.2300 เดิมใช้ชื่อว่า “วัดสุวรรณติมพรุธาราม” แปลว่า อารามที่มีผลมะพลับทอง เนื่องจากมีต้นมะพลับใหญ่ ภายในวันมีพระปรางค์ซึ่งมีเจดีย์ล้อมรอบ ในสมัยสมเด็จรพระเจ้าตากสินมหาราช ได้เสด็จมาประทับพักแรมที่วัดนี้ก่อนที่จะยกทัพเข้าตีเมืองจันทบูร ได้ทรงแจกพระยอดธง ให้แก่ทหารส่วนพระยอดธงที่เหลือได้ถูกนำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ ต่อมาเจดีย์ทลายลง จึงนำระยอดธงส่วนหนึ่งมาบรรจุไว้ในพระปรางค์นี้ นักนิยมพระเครื่องเรียกพระยอดธงนี้ว่า “ พระยอดธงกู้ชาติ” ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุที่สำคัญซึ่งทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเอาไว้มีดังนี้ หอไตรกลางน้ำ, เจดีย์กลางบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้ประกอบน้ำพระพุทธมนต์สำหรับพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ ซึ่งต้องใช้น้ำที่ถ้ำพระนารายณ์ ต.คลองนารายณ์ น้ำที่สระแก้ว ต.พลอยแหวน จ.จันทบุรี มารวมกัน แล้วทำพิธีนำน้ำพระพุทธมนต์พุทธาภิเษกตลอด 3 วัน 3 คืน ณ พระอุโบสถวัดพลับแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีวิหารไม้ ภายในมี “พระพุทธรูปประทับนั่งปางบำเพ็ญทุกรกิริยา” ดังนั้นจึงไม่ควรพลาดที่จะมาไหว้พระขอพรและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์วัดพลับแห่งนี้




 


วัดโยธานิมิต : บางกะจะ อ.เมืองจันทบุรี 

ประวัติวัดโยธานิมิต  วัดโยธานิมิตอยู่ในกำแพงเมืองจันทบุรีใหม่ ที่ตำบลเนินวง เจ้าพระยาพระคลังสร้างขึ้น ในคราวเดียวกันกับสร้างเมืองใหม่เพื่อให้เป็นวัดประจำเมือง และวัดนี้พระสงฆ์จำพรรษาอยู่ตลอดมาจนกระทั่งถึงเวลาปัจจุบัน
วัดโยธานิมิตอยู่ในเขตท้องที่ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี พระอุโบสถสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ในสมัยรัชกาลที่๓) หลังคาทำแบบชั้นเดียว ไม่มีช่อฟ้า ไม่มีใบระกา(เป็นลักษณะเฉพาะของอุโบสถที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากศิลปะแบบจีน :(ผู้จัดทำ) ภายในพระอุโบสถไม่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สภาพปัจจุบัน  (เมื่อ ๒๕๒๒) วัดโยธานิมิต อยู่ในค่ายเนินวง และอยู่ห่างจากแนวกำแพงประมาณ ๑๐๐ เมตร เนื้อที่วัดประมาณ ๑ ไร่ โดยมีซาก แนวกำแพงรอบวัดก่อด้วยศิลาแลง สภาพปัจจุบันเหลือแต่แนวกำแพงเป็นบางส่วน จากแนวกำแพงรอบวัดมีกำแพงรอบอุโบสถก่ออิฐถือเป็นปูนสอง ชั้น ชั้นนอก กว้าง ๒๗ เมตร ยาว ๕๕ เมตร สูง ๑.๒๐ เมตร ชั้นใน กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๒๘ เมตร สูง ๑.๐๐ เมตร กำแพงเมืองวัดโยธานิมิต  ก่อด้วยศิลาแลงโดยรอบ ภายในกำแพงวัดมีโบสถ์หลังหนึ่งขนาดกว้าง ๕ ห้อง มีเฉลียงรอบพระประธานในโบสถ์เป็น พระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งสร้างพร้อมกันกับโบสถ์ หลังโบสถ์ออกไปมีเจดีย์กลมแบบกังกาอยู่องค์หนึ่งสูงประมาณ ๒๐ เมตรพร้อมกับศาลาการเปรียญ อยู่หลังหนึ่ง และกุฏิสงฆ์ หลวงพ่อใหญ่ หลวงพ่อใหญ่เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ภายในโบสถ์วัดโยธานิมิต ซึ่งชาวจันทบุรี เคารพบูชาเป็นอย่างมาก










วัดใหม่ : ต.ตลาด อ.เมืองจันทบุรี

วัดใหม่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2335 ปัจจุบันเป็นวัดเจ้าคณะจังหวัด คือ พระราชจันทโมลี(ปิยะ เกตุธมฺ ปธ.5) ภายในวัดมีเสนาสนะต่างๆ ที่สวยงามตั้งอยู่ในเขตชุมชนดังนั้นจึงมีประชาชนเดินทางมาทำบุญไหว้พระและจัดกิจกรรมต่างๆ ตามพุทธประเพณี มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีและศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 โบราณสถานโบราณวัตถุที่ควรมาสักการบูชาได้แก่ พระพุทธสิหิงค์ ในช่วงเทศการแห่แหนไปรอบตัวเมืองจันท์เพื่อให้ประชาชนได้มาสรงน้ำองค์พระเสริมสิริมงคลกัน ซึ่งได้จัดต่อเนื่องมาเป็นเวลา 40 กว่าปีแล้ว นอกจากนี้ยังมีรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต หลวงพ่อทวด และพระศักดิ์สิทธิ์มากมาย







วัดโบสถ์เมือง : ต.ตลาด อ.เมืองจันทบุรี

วัดโบสถ์เมือง เป็นวัดที่มีความเก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ.2330 ความเป็นมาแต่เดิมนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แทรกตัวอยู่ในชุมชนเก่าได้อย่างกลมกลืนสวยงาม มีทางเข้าวัด 2 ทาง ทางหนึ่งด้านประตูหน้า อีกทางหนึ่งต้องเดินขึ้นบันไดสูน นับเป็นเสน่ห์ที่ตราตรึงเมื่อพบเห็น ภายในวัดมีเสนาสนะต่างๆ ได้แก่ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม หอสวดมนต์ เจดีย์องค์ใหญ่ ที่โดดเด่นเป็นสง่ายิ่งนัก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีเจดีย์เล็กล้อมรอบ 4 มุม มีพระประธานประจำพระอุโบสถ และด้านหน้าพระอุโบสถมีทับหลังศิลปะแบบบาปวน วัดโบสถ์เมืองเป็นสถานที่จัดหล่อเทียนพรรษาของ จ.จันทบุรี มาแต่เดิมและได้สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้



วัดป่าคลองกุ้ง : ต.ตลาด อ.เมืองจันทบุรี

วัดป่าคลองกุ้ง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2478 โดยมีพระอาจารย์ลี ธมมะโร ภายหลังได้รับสมณะศักดิ์เป็นพระราชาคณะ พระสุทธิธรรมรังษี ภายในวัดมีเสนาสนะต่างๆ ครบถ้วน วัดป่าคลองกุ้งแต่เดิมเป็นป่าช้าและเป็นสถานที่ประหารนักโทษ ปัจจุบันวัดป่าคลองกุ้งมีความเงียบสงบเหมาะที่จะมาพักผ่อนจิตใจให้สบายด้วยร่มเงาแห่งพุทธศาสนา หากท่านได้มาที่วัดป่าคลองกุ้ง ก็ควรจะมาไหว้พระที่ วิหารพระศรีอริยเมตไตรย และ กราบนมัสการท่านพ่อลี(พระอาจารย์ลี ธมมะโร) ที่วิหารสุวรรณรังษี 


 



ศาลหลักเมือง : ต.จันทนิมิต อ.เมืองจันทบุรี

ศาลหลักเมือง หลังปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าค่ายตากสินด้านซ้าย ศาลเดิมสร้างด้วยศิลาแลงแต่ได้ชำรุดทรุดโทรม จนต้นโพธิ์ต้นข่อยขึ้นปกคลุมหลักเมืองเดิมเองก็ไม่ทราบว่ามีรูปร่างอย่างไร เมื่อประมาณ 50 กว่าปีมาแล้วศาลหลักเมืองแห่งนี้เป็นศาลไม้อยู่ระหว่างต้นข่อยใหญ่ 2 ต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสร้างขึ้น  ศาลหลักเมืองแห่งที่กล่าวถึงนี้ ก็คือศาลหลักเมืองซึ่งทางจังหวัดจันทบุรีได้กำหนดให้เป็นศาลหลักเมืองจันทบุรีในปัจจุบัน  ได้ก่อสร้างศาลฝังเสาหลักเมืองและหล่อองค์เจ้าพ่อขึ้นใหม่อย่างสง่างาม จึงควรมาสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลในการเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองจันท์

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ดอกไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี


ดอกเหลืองจันทบูร

ดอกไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี-ดอกเหลืองจันทบูร


ดอกไม้ประจำจังหวัด

จันทบุรี

ชื่อดอกไม้

ดอกเหลืองจันทบูร

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dendrodium friedericksianum Rchb. f.

วงศ์

ORCHIDACEAE

ชื่ออื่น

หวายเหลืองจันทบูร

ลักษณะทั่วไป

เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง ออกดอกในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม ขนาดดอกโตประมาณ 5 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์

แยกลำ

สภาพที่เหมาะสม

เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ชอบอากาศชื้น

ถิ่นกำเนิด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก

ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี

ต้นจัน

ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี - ต้นจัน





ต้นไม้ประจำจังหวัด

จันทบุรี

ชื่อพันธุ์ไม้

จัน

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Diospyros decandra Lour.

วงศ์

EBENACEAE

ชื่ออื่น

จัน จันอิน จันโอ (ทั่วไป), จันขาว จันลูกหอม (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นสูง 20 เมตร ยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรี ดอก แยกเพศ เพศผู้เป็นช่อ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท สีขาวนวล ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า ผลเป็นผลสดมีสองลักษณะคือ ทรงกลมแป้นเรียกว่าลูกจัน และทรงกลมเรียกว่าลูกอิน เมื่อสุกสีเหลือง มีกลิ่นหอม และกลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่

ขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง

ถิ่นกำเนิด

นิยมปลูกตามบ้านเรือนและบริเวณวัด