วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติเมืองจันทบุรี.....




จังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย ทิศเหนือติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้ว และปราจีนบุรี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดตราดและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดระยองและชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 245 กิโลเมตร สภาพพื้นที่มีทั้งป่าไม้ ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล
ตำนานและความเป็นมา


จันทบุรีเป็นเมืองเก่าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เชื่อกันว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี สร้างขึ้นโดยชนชาติขอม หัวเมืองเดิมตามศิลาจารึกเรียกว่า "ควนคราบุรี" ชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เมืองกาไว" ตามชื่อผู้ปกครอง เมืองจันทบุรีเดิมตั้งอยู่บริเวณหน้าเขาสระบาป มีชนพื้นเมืองเดิมอาศัยอยู่เรียกว่า ชาวชอง มีภาษาพูดเป็นภาษาของตนเองแตกต่างจากภาษาไทยและภาษาเขมร ครั้นถึงปี พ.ศ. 1800 ได้มีการย้ายถิ่นฐานมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านหัววัง ตำบลพุงทลาย ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำจันทบุรีในปัจจุบัน
ต่อมาปี พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2310 หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีเพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ในคราวนั้นเจ้าเมืองจันทบูรณ (ยศเจ้าเมืองจันทบุรีเดิม) ได้ต่อต้านกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโดยได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เมืองจันทบุรีอยู่รอดเป็นอิสระ รักาาแผ่นดินไว้ให้ ชนชาติบูรพา แต่สุดท้ายก็ต้องปราชัยพ่ายแพ้แก่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระองค์ทรงใช้พญาช้างศึกบุกชนกํแพงเมืองจนสามารถเข้าตีเมืองเอาไว้ได้สำเร็จ เจ้าเมืองจันทบูรณ์ ได้หลบภัยไป อยู่ อาณาจักรกัมพูชา จนถึงแก่ อสัญกรรม เมืองจันทบุรีจึงตกเป็นของ สยาม นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 11 ปี จนไทยต้องยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (ลาว) ให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกเมืองจันทบุรีกลับคืนมา ต่อมามีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จัดตั้งมณฑลจันทบุรี โดยมีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราดอยู่ในเขตการปกครองจนถึงปี พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลและได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ดังนั้นเมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้


ภูมิศาสตร์


ขนาดและที่ตั้ง


จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่บนพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 12-13 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 101-102 องศาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 245 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 6,338 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,961,250 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.6 ของพื้นที่ภาคตะวันออก และเท่ากับร้อยละ 1.8 ของพื้นที่ทั้งประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง คือ
ทิศเหนือ ติดจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดจังหวัดตราดและประเทศกัมพูชา
ทิศใต้ ติดอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดจังหวัดระยองและจังหวัดชลบุรี


ลักษณะภูมิประเทศ


สภาพพื้นที่โดยทั่วไปทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก เป็นป่าไม้ ภูเขา และที่ราบสูงเป็นส่วนใหญ่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 30-190 เมตร ทิศใต้เป็นชายฝั่งทะเลมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม บางแห่งเป็นอ่าวแหลมและหาดทราย สูงจากระดับน้ำทะเล 30-190 เมตร
พื้นที่จังหวัดจันทบุรี แยกลักษณะภูมิประเทศออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
ภูเขาสูงและเนินเขา
ที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา
ที่ราบลุ่มน้ำและที่ราบชายฝั่งทะเล


ลักษณะภูมิอากาศ


สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ในเขตที่มีอากาศร้อนชื้น มีฝนตกชุกติดต่อกันประมาณ 6 เดือนต่อปี และในปี พ.ศ. 2542 มีฝนตกจำนวน 182 วัน วัดปริมาณน้ำฝนโดยรวม 3,509.40 มิลลิเมตร และเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดในรอบปี คือเดือนธันวาคม วัดได้ 13.10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28.46 องศาเซลเซียส ประกอบด้วย 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว ตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์


หน่วยการปกครอง


การปกครองแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 76 ตำบล 690 หมู่บ้าน


อำเภอเมืองจันทบุรี
อำเภอขลุง
อำเภอท่าใหม่
อำเภอโป่งน้ำร้อน
อำเภอมะขาม
อำเภอแหลมสิงห์
อำเภอสอยดาว
อำเภอแก่งหางแมว
อำเภอนายายอาม
อำเภอเขาคิชฌกูฏ


หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ


ททท.สำนักงานระยอง (ระยอง จันทบุรี) อ.เมือง ระยอง โทร. 0 3865 5420-1, 0 3866 4585
สำนักงานจังหวัดจันทบุรี โทร. 0 3931 1001
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 3933 0180, 0 3933 0103
เหตุด่วน เหตุร้าย โทร. 191
ตำรวทางหลวง โทร. 193
เพลิงไหม้ โทร. 199
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. 0 3931 1111
สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว (สทจ.) โทร. 0 3931 2567
สถานีขนส่ง โทร. 0 3931 1299
ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเทศบาล โทร. 0 3935 0224
โรงพยาลขลุง โทร. 0 3944 1644
โรงพยาบาลเขาสอยดาว โทร. 0 3938 1376-7
โรงพยาบาลตากสิน โทร. 0 3932 1759
โรงพยาบาลท่าใหม่ โทร. 0 3943 1001-2
โรงพยาบาลโป่งน้ำร้อน โทร. 0 3938 7112
โรงพยาบาลสิริเวช โทร. 0 3934 4244

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น