วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำเภอเมืองจันทบุรี



 


ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : ต.จันทนิมิต อ.เมืองจันทบุรี

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่หน้าค่ายตากสิน เช่นกัน เป็นอาคารรูปทรงเก้าเหลี่ยม หลังคาเป็นรูปพระมาลา หรือรูปหมวกยอดแหลม ภายในประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ จะจัดให้มีการทำบุญตักบาตรและถวายเครื่องสักการะเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงกอบกู้เอกราชให้แผ่นดินไทย





วัดไผ่ล้อม(พระอารามหลวง) : ต.จันทนิมิต อ.เมืองจันทบุรี

วัดไผ่ล้อม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2320 ภายในวัดมีพระอุโบสถ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด จนถึงสมัยรัชการที่ 3 ได้ทำการบูรณะสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ โดยเป็นแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัชการที่ 3 สิ่งที่ควรสักการะเสริมสิริมงคลที่วัดไผ่ล้อมนี้ก็คือ “พระพุทธไสยาสน์ ปูชนียวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก” ยาว 9 วา 9 นิ้ว สร้างขึ้นโดยความดำริของ “ท่านพระเทพสิทธิมุนี” เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมในปัจจุบัน มีพุทธลักษณะเป็นประติมากรรมผสมค่อนไปทางศิลปะสุโขไทยพร้อมวิหารครอบลักษณะ 2 ชั้น ทรงไทยประยุกต์ นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่า เช่น “เจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์” มีกำแพงแก้วล้อมทั้ง 4 ด้าน สูง 10 เมตร และมี “โบสถ์ ลักษณะเป็นอาคารเลียนแบบศิลปะตะวันตก” ทรงตึกห้องเดียวหลังคาแบบเรื่อนมนิลาสวยงาน วัดไผ่ล้อมนี้ถือได้ว่าเป็นวันที่มีสถาปัตยกรรมอันวิจิตรงดงามมากแห่งหนึ่งใน จ.จันทบุรี ซึ่งท่านไม่ควรพลาดที่จะมาทำบุญไหวัพระที่นี่



  

วัดจันทนาราม : ต.จันทนิมิต อ.เมืองจันทบุรี

วัดจันทนาราม เป็นวัดเก่าแก่โบราณตั้งอยู่บนชายฝั่งด้านซ้ายของแม่น้ำจันทบุรี สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2360 แต่บางกระแสเล่าว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีวัดนี้เกิดขึ้นแล้ว วัดจันทนารามเป็นสถานที่จัดงานทอดผ้าป่าหินและประเพณีลอยกระทง ปูชนียวัตถุและโบราณ วัตถุที่สำคัญ เช่น พระพุทธรูปหินอ่อน สร้างเมื่อ 1 ค่ำ เดือน 9 ปีขาล พ.ศ.2445 ที่เมืองตะโค้ง หรือชะเวดากอง ประเทศพม่า นอกจากนี้ยังมี “แผ่นศิลาเก่าแก่” จำนวน 4 แผ่น “พระประธานประจำอุโบสถเก่าแก่” สร้างเมื่อปี พ.ศ.2384 และ “กุฏิไม้รูปทรงศิลาอ่อน”แบบพม่า 1 องค์




 


โบสถ์วัดคาทอลิก (อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธิ) : ต.จันทินิมิต อ.เมืองจันทบุรี

โบสถ์วัดคาทอลิก หลังนี้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวญวนผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ตัวโบสถ์หลังนี้เป็นหลังที่ 5 สร้างโดย “คุณพ่อเปรโตร ปรีกาล” เมื่อ พ.ศ. 2443 ศิลปะแบบโกธิค ตัวโบสถ์ยาว 60 เมตร กว้าง 20 เมตร ตกแต่งด้วยวิธีการประดับ “กระจกสีแบบสเตนกลาส” เป็นภาพนักบุญที่สวยงามและมีคุณค่าทางศิลปะยิ่งนัก ในปัจจุบันโบสถ์วัดคาทอลิคหลังนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นโบสถ์วัดคาทอลิกที่เก่าแก่ทรงคุณค่าและมีความงดงามที่สุดในประเทศไทย  







วัดกลาง : ต.วัดใหม่ อ.เมืองจันทบุรี

วัดกลาง เป็นวัดที่มีความเก่าแก่โบราณอีกวัดหนึ่งที่แทรกตัวอยู่ในชุมชนได้อย่างกลมกลืนสวยงามและมีเสนาสนะต่างๆ ที่งดงามเป็นพิเศษ จึงไม่ควรพลาดที่จะมาไหว้พระเสริมสิริมงคล วัดกลาง สร้างเมื่อปี พ.ศ.2200 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2444 โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ คือ หลวงพ่อปู่ชัยพฤกษ์ เป็นพระประทานประจำพระอุโบสถ และอยู่คู่วัดมาช้านาน นอกจากนี้ยังมี เทวลัยสถาน เป็นที่ตั้งของรูปเหมือนพลเรือเอกพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์





วัดเขตร์นาบุญญาราม : ต.วัดใหม่ อ.เมืองจันทบุรี

วัดเขตร์นาบุญญาราม เป็นวัดพระสงฆ์อนัมนิกาย สร้างขึ้นในสมัยรัชการที่ 3 พ.ศ.2377 แรกเริ่มเป็นอุโบสถไม้ ต่อมาชำรุดคณะกรรมการ ศิษยานุศิษย์ และชาวจันทบุรีได้ร่วมใจกันสร้างขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชการที่ 7 มาเป็นองค์ปรานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เพื่อให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมืองและเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในการประกอบพิธีถือศีลกินเจ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป ภายในวัดยังมีอาคารโรงเจ “บ้วนเฮงตั๊ว” หรือศาลาบำเพ็ญบุญของสมาชิกผู้ถือศิลกินเจในงานถือศีลกินเจกิ๋วฮ๊วงเซ่งหวย ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน งานบุญนี้ได้จัดมา 100 กว่าปีแล้ว ต่อมาได้ปรับปรุงต่อเติมอาคารที่ประทับองค์ฮุดโจ๊วเดิมให้มีความโดดเด่นเป็นสง่า นับได้ว่าเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์และควรเคารพ เพราะเป็นโรงเจคู่บ้านคู่เมืองจันท์เลยทีเดียว








วัดทองทั่ว : ต.คลองนารายณ์ อ.เมืองจันทบุรี

วัดทองทั่ว เป็นวัดเก่าแก่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าอาจจะสร้างในยุคที่เมืองจันทบุรียังตั้งอยู่ในแถบนี้ โดยผู้เจ้าครองนครองค์ในองค์หนึ่งและสร้างต่อๆ กันมา วัดทองทั่วมีโบสถ์หลังเก่าซึ่งเป็นสถานปัตยกรรมแบบต้นรัตนโกสินทร์ คาดว่าจะเป็นสมัยรับการที่ 4 ภายหลังมีการสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น จึงใช้อุโบสถหลังเก่าเป็นที่เก็บโบราณวัตถุ เช่น ทับหลังหินทรายสีขาวลวดลายต่างๆ ศิลปะแบบขอม ยุคถาลาบริวัตต่อสมไพรกุก (พ.ศ.1150) และโบราณวัตถุที่สำคัญของวัดทองทั่งนั้นมีอยู่หลายอย่าง เช่น ใบเสมา คือ รูปเครื่องหมายปักเขตอุโบสถเป็นรูปเสมาคู่, ซากเจดีย์เก่า หรือซากอาคารเก่า, เจดีย์เก่า สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย , อุโบสถหลังเก่า สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณรัชการที่ 4, เสาประดับกรอบประตูเทวสถาน ศิลปะแบบนครวัด, โกลนพระเนตร แต่แกะไม่สำเสร็จ ศิลปะแบบทวาราวดีที่ผสมกับศิลปะแบบขอม เป็นต้น


วัดพลับ : บางกะจะ อ.เมืองจันทบุรี

วัดพลับ เป็นวัดเก่าแก่โบราณที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ.2300 เดิมใช้ชื่อว่า “วัดสุวรรณติมพรุธาราม” แปลว่า อารามที่มีผลมะพลับทอง เนื่องจากมีต้นมะพลับใหญ่ ภายในวันมีพระปรางค์ซึ่งมีเจดีย์ล้อมรอบ ในสมัยสมเด็จรพระเจ้าตากสินมหาราช ได้เสด็จมาประทับพักแรมที่วัดนี้ก่อนที่จะยกทัพเข้าตีเมืองจันทบูร ได้ทรงแจกพระยอดธง ให้แก่ทหารส่วนพระยอดธงที่เหลือได้ถูกนำมาบรรจุไว้ในเจดีย์ ต่อมาเจดีย์ทลายลง จึงนำระยอดธงส่วนหนึ่งมาบรรจุไว้ในพระปรางค์นี้ นักนิยมพระเครื่องเรียกพระยอดธงนี้ว่า “ พระยอดธงกู้ชาติ” ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุที่สำคัญซึ่งทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเอาไว้มีดังนี้ หอไตรกลางน้ำ, เจดีย์กลางบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้ประกอบน้ำพระพุทธมนต์สำหรับพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ ซึ่งต้องใช้น้ำที่ถ้ำพระนารายณ์ ต.คลองนารายณ์ น้ำที่สระแก้ว ต.พลอยแหวน จ.จันทบุรี มารวมกัน แล้วทำพิธีนำน้ำพระพุทธมนต์พุทธาภิเษกตลอด 3 วัน 3 คืน ณ พระอุโบสถวัดพลับแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีวิหารไม้ ภายในมี “พระพุทธรูปประทับนั่งปางบำเพ็ญทุกรกิริยา” ดังนั้นจึงไม่ควรพลาดที่จะมาไหว้พระขอพรและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์วัดพลับแห่งนี้




 


วัดโยธานิมิต : บางกะจะ อ.เมืองจันทบุรี 

ประวัติวัดโยธานิมิต  วัดโยธานิมิตอยู่ในกำแพงเมืองจันทบุรีใหม่ ที่ตำบลเนินวง เจ้าพระยาพระคลังสร้างขึ้น ในคราวเดียวกันกับสร้างเมืองใหม่เพื่อให้เป็นวัดประจำเมือง และวัดนี้พระสงฆ์จำพรรษาอยู่ตลอดมาจนกระทั่งถึงเวลาปัจจุบัน
วัดโยธานิมิตอยู่ในเขตท้องที่ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี พระอุโบสถสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ในสมัยรัชกาลที่๓) หลังคาทำแบบชั้นเดียว ไม่มีช่อฟ้า ไม่มีใบระกา(เป็นลักษณะเฉพาะของอุโบสถที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากศิลปะแบบจีน :(ผู้จัดทำ) ภายในพระอุโบสถไม่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สภาพปัจจุบัน  (เมื่อ ๒๕๒๒) วัดโยธานิมิต อยู่ในค่ายเนินวง และอยู่ห่างจากแนวกำแพงประมาณ ๑๐๐ เมตร เนื้อที่วัดประมาณ ๑ ไร่ โดยมีซาก แนวกำแพงรอบวัดก่อด้วยศิลาแลง สภาพปัจจุบันเหลือแต่แนวกำแพงเป็นบางส่วน จากแนวกำแพงรอบวัดมีกำแพงรอบอุโบสถก่ออิฐถือเป็นปูนสอง ชั้น ชั้นนอก กว้าง ๒๗ เมตร ยาว ๕๕ เมตร สูง ๑.๒๐ เมตร ชั้นใน กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๒๘ เมตร สูง ๑.๐๐ เมตร กำแพงเมืองวัดโยธานิมิต  ก่อด้วยศิลาแลงโดยรอบ ภายในกำแพงวัดมีโบสถ์หลังหนึ่งขนาดกว้าง ๕ ห้อง มีเฉลียงรอบพระประธานในโบสถ์เป็น พระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งสร้างพร้อมกันกับโบสถ์ หลังโบสถ์ออกไปมีเจดีย์กลมแบบกังกาอยู่องค์หนึ่งสูงประมาณ ๒๐ เมตรพร้อมกับศาลาการเปรียญ อยู่หลังหนึ่ง และกุฏิสงฆ์ หลวงพ่อใหญ่ หลวงพ่อใหญ่เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ภายในโบสถ์วัดโยธานิมิต ซึ่งชาวจันทบุรี เคารพบูชาเป็นอย่างมาก










วัดใหม่ : ต.ตลาด อ.เมืองจันทบุรี

วัดใหม่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2335 ปัจจุบันเป็นวัดเจ้าคณะจังหวัด คือ พระราชจันทโมลี(ปิยะ เกตุธมฺ ปธ.5) ภายในวัดมีเสนาสนะต่างๆ ที่สวยงามตั้งอยู่ในเขตชุมชนดังนั้นจึงมีประชาชนเดินทางมาทำบุญไหว้พระและจัดกิจกรรมต่างๆ ตามพุทธประเพณี มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีและศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 โบราณสถานโบราณวัตถุที่ควรมาสักการบูชาได้แก่ พระพุทธสิหิงค์ ในช่วงเทศการแห่แหนไปรอบตัวเมืองจันท์เพื่อให้ประชาชนได้มาสรงน้ำองค์พระเสริมสิริมงคลกัน ซึ่งได้จัดต่อเนื่องมาเป็นเวลา 40 กว่าปีแล้ว นอกจากนี้ยังมีรูปเหมือนสมเด็จพุฒาจารย์โต หลวงพ่อทวด และพระศักดิ์สิทธิ์มากมาย







วัดโบสถ์เมือง : ต.ตลาด อ.เมืองจันทบุรี

วัดโบสถ์เมือง เป็นวัดที่มีความเก่าแก่วัดหนึ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ.2330 ความเป็นมาแต่เดิมนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แทรกตัวอยู่ในชุมชนเก่าได้อย่างกลมกลืนสวยงาม มีทางเข้าวัด 2 ทาง ทางหนึ่งด้านประตูหน้า อีกทางหนึ่งต้องเดินขึ้นบันไดสูน นับเป็นเสน่ห์ที่ตราตรึงเมื่อพบเห็น ภายในวัดมีเสนาสนะต่างๆ ได้แก่ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ โรงเรียนพระปริยัติธรรม หอสวดมนต์ เจดีย์องค์ใหญ่ ที่โดดเด่นเป็นสง่ายิ่งนัก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีเจดีย์เล็กล้อมรอบ 4 มุม มีพระประธานประจำพระอุโบสถ และด้านหน้าพระอุโบสถมีทับหลังศิลปะแบบบาปวน วัดโบสถ์เมืองเป็นสถานที่จัดหล่อเทียนพรรษาของ จ.จันทบุรี มาแต่เดิมและได้สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้



วัดป่าคลองกุ้ง : ต.ตลาด อ.เมืองจันทบุรี

วัดป่าคลองกุ้ง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2478 โดยมีพระอาจารย์ลี ธมมะโร ภายหลังได้รับสมณะศักดิ์เป็นพระราชาคณะ พระสุทธิธรรมรังษี ภายในวัดมีเสนาสนะต่างๆ ครบถ้วน วัดป่าคลองกุ้งแต่เดิมเป็นป่าช้าและเป็นสถานที่ประหารนักโทษ ปัจจุบันวัดป่าคลองกุ้งมีความเงียบสงบเหมาะที่จะมาพักผ่อนจิตใจให้สบายด้วยร่มเงาแห่งพุทธศาสนา หากท่านได้มาที่วัดป่าคลองกุ้ง ก็ควรจะมาไหว้พระที่ วิหารพระศรีอริยเมตไตรย และ กราบนมัสการท่านพ่อลี(พระอาจารย์ลี ธมมะโร) ที่วิหารสุวรรณรังษี 


 



ศาลหลักเมือง : ต.จันทนิมิต อ.เมืองจันทบุรี

ศาลหลักเมือง หลังปัจจุบันตั้งอยู่ที่หน้าค่ายตากสินด้านซ้าย ศาลเดิมสร้างด้วยศิลาแลงแต่ได้ชำรุดทรุดโทรม จนต้นโพธิ์ต้นข่อยขึ้นปกคลุมหลักเมืองเดิมเองก็ไม่ทราบว่ามีรูปร่างอย่างไร เมื่อประมาณ 50 กว่าปีมาแล้วศาลหลักเมืองแห่งนี้เป็นศาลไม้อยู่ระหว่างต้นข่อยใหญ่ 2 ต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสร้างขึ้น  ศาลหลักเมืองแห่งที่กล่าวถึงนี้ ก็คือศาลหลักเมืองซึ่งทางจังหวัดจันทบุรีได้กำหนดให้เป็นศาลหลักเมืองจันทบุรีในปัจจุบัน  ได้ก่อสร้างศาลฝังเสาหลักเมืองและหล่อองค์เจ้าพ่อขึ้นใหม่อย่างสง่างาม จึงควรมาสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลในการเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองจันท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น